Pages

Saturday, June 27, 2020

'วิถีฟรีแลนซ์ช่วงติดล็อก!!' ต้องยึดคาถา 'ปรับตัว-ทำาใจให้สู้!!' - เดลีนีวส์

ayoindex.blogspot.com

“ต้องใช้ชีวิตนิ่ง ๆ มาเกือบ 4 เดือน เพราะทุกอย่างหยุดสนิท เป็นสถานการณ์ที่ อ้น-ฤาชุตา เกษรมาลา โปรดิวเซอร์อิสระวัย 44 ปี บอกกับเรา หลังจากที่ต้องเจอ พิษโควิด-19” จนทำให้งานทั้งหมดถูกยกเลิก หรือเลื่อนออกไปในช่วงที่ไทยเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด ทั้งนี้ กับชีวิตของโปรดิวเซอร์สาวรายนี้ก็เป็นภาพสะท้อนของ ชีวิตคนมีอาชีพรับจ้างอิสระ หรือที่มักเรียกกันติดปากว่า “ฟรีแลนซ์ ซึ่งก็มีอยู่ในหลายวงการ แต่ส่วนใหญ่ที่สังคมมักมีภาพจำกันนั้น หนีไม่พ้นคนในแวดวงโฆษณา วงการภาพยนตร์ รวมถึงธุรกิจอีเวนต์ ซึ่งวันนี้ ทีมวิถีชีวิต มีแง่มุมมานำเสนอ...
                        
อาชีพแบบฟรีแลนซ์ นั้น ปัจจุบันก็มีคนไทยที่ทำงานรูปแบบนี้อยู่เป็นจำนวนมาก ในหลากหลายวงการ แต่ที่คนส่วนใหญ่จะคุ้นกันมากก็คือฟรีแลนซ์ในแวดวงโฆษณา ภาพยนตร์ และวงการธุรกิจออแกไนซ์ ที่มีฟรีแลนซ์มือดีซุกซ่อนตัวอยู่ในยุทธจักรเหล่านี้มากมาย อย่างไรก็ตาม เมื่อมี โควิด-19 ระบาด และเมื่อไทยใช้ มาตรการล็อกดาวน์ เพื่อคุมเข้มเชื้อ ก็ส่งผลทำให้ฟรีแลนซ์เหล่านี้ต้องเร้นกายไปจากยุทธจักร หนึ่งในนั้นก็มี อ้น-ฤาชุตา คนนี้ โดยเธอเล่าถึงเส้นทางอาชีพว่า ก้าวสู่วงการฟรีแลนซ์ตอนอายุ 25 ปี และหากนับนิ้วไล่นับอายุงานนั้น เธอก็อยู่ในยุทธจักรนี้มาเกือบ
20 ปีแล้ว

สำหรับการงานหน้าที่ของเธอนั้น ส่วนใหญ่งานที่เธอรับทำก็จะเป็นงานภาพยนตร์โฆษณา งานตัดต่อ งานผลิตวิดีโอพรีเซนเทชั่นให้บริษัทหรือองค์กรต่าง ๆ นอกจากนั้นเธอยังได้มีโอกาสร่วมงานกับกองถ่ายภาพยนตร์จากต่างประเทศ ที่เดินทางมาถ่ายทำในประเทศไทย โดยภาพยนตร์ต่างประเทศที่เคยร่วมเป็นส่วนหนึ่งของทีมงานเบื้องหลังนั้น มีอาทิ เซี่ยงไฮ้” “แฮงก์โอเวอร์ และล่าสุดก่อนเกิดโควิดก็คือเรื่อง “Extraction” ที่มี คริส เฮมส์เวิร์ธ พระเอกฮอลลีวูดชื่อดังรับบทนำในภาพยนตร์เรื่องนี้ และถือเป็นภาพยนตร์ต่างประเทศเรื่องสุดท้ายที่เธอได้ทำเต็มเรื่อง ก่อนจะเกิดโควิดระบาด

หลังการระบาดหนัก ทั้งงานทั้งชีวิตทุกอย่างนิ่งสนิท เพราะถูกยกเลิกหมด ถูกชะลอออกไปก่อน เพราะโควิดระบาด ถามว่าชีวิตช่วงนั้นทำยังไง ก็ต้องบอกตรง ๆ เลยว่า ช่วง 4 เดือนที่ไม่ได้ทำงาน ต้องอาศัยกินบุญเก่าไปก่อน (หัวเราะ) ด้วยการนำเงินเก็บที่พอจะมีอยู่นำออกมาใช้จ่ายในระหว่างที่รอให้สถานการณ์คลี่คลาย ซึ่งการต้องหยุดงานครั้งนี้ ถือว่านานที่สุดในชีวิตตั้งแต่เริ่มทำงานมาเลย โปรดิวเซอร์ฟรีแลนซ์สาวรายนี้กล่าว ก่อนจะเล่าให้ฟังถึง ชีวิตช่วงโควิด ว่า ก็ปลูกต้นไม้ไป ไม่ก็หัดทำคุกกี้ ทำเค้กบ้าง อย่างคุกกี้นี้ดีว่าสถานการณ์โควิดคลี่คลายลงเสียก่อน ไม่เช่นนั้นอาจผันตัวไปเป็นแม่ค้าคุกกี้ออนไลน์แล้วก็ได้ เธอบอกขำ ๆ

ส่วนมุมมองเกี่ยวกับสถานการณ์หลังจากที่ได้มีการคลายล็อกให้กิจกรรมต่าง ๆ สามารถกลับมาทำได้ปกตินั้น สำหรับเธอแล้ว เธอมองว่า กับกิจกรรมกองถ่ายนั้น ตอนนี้ก็ค่อย ๆ ฟื้นบ้างแล้ว โดยเชื่อว่าอีกไม่นานก็คงเป็นปกติ โดยเธอระบุว่า คิดว่าไม่น่าเกินปลายปี อันนี้เฉพาะกองถ่ายไทยนะ ส่วนกองถ่ายต่างประเทศ อาจต้องเป็นต้นปีหน้าเลย ระหว่างนี้ก็ต้องอดทนไปก่อน แม้จะอึดอัด แต่ก็ต้องทำให้ได้ เป็นเสียงของ อ้น-ฤาชุตา โปรดิวเซอร์สาวคนนี้

มาที่ อาร์ต-สันทัด คุ้มประชา วัย 43 ปี อาชีพโปรดิวเซอร์ฟรีแลนซ์เช่นกัน ซึ่งเล่าให้เราฟังว่า เขาเริ่มทำงานเป็นเด็กวิ่งกองถ่ายหรือรันเนอร์มาตั้งแต่เรียนจบ ปวส. ก่อนขยับขึ้นป็นหัวหน้างานในตำแหน่งพร็อพแมน และฝ่ายจัดหาโลเกชั่น กับผู้ช่วยผู้กำกับศิลป์ตามลำดับ  ก่อนที่จะถูกทาบทามให้เป็นผู้จัดการกองถ่าย และก็ได้ขยับขึ้นทำตำแหน่งโปรดิวเซอร์ในเวลาต่อมา สำหรับจุดพลิกผันที่ทำให้ก้าวสู่โลกฟรีแลนซ์ได้นั้น อาร์ตบอกว่า เกิดจากตลาดวงการโฆษณาเริ่มหดตัวลง ทำให้มีจำนวนชิ้นงานน้อยลง และเมื่อมีงานเข้ามาน้อยลง ประกอบกับงบประมาณการผลิตภาพยนตร์โฆษณาหรือโฆษณาประเภทภาพนิ่งลดลง ที่สุดบริษัทที่เขาเคยทำงานประจำอยู่ก็ตัดสินใจปรับลดคน จึงตัดสินใจลาออกมายึดอาชีพฟรีแลนซ์เต็มตัว ด้วยความที่คลุกคลีในแวดวงโฆษณามานาน ทำให้มีลูกค้าป้อนงานเข้ามาให้ทำเรื่อย ๆ

ส่วนใหญ่เป็นลูกค้าในวงการโฆษณาเป็นหลัก ทั้งงานหนังโฆษณา ทั้งงานภาพนิ่ง หรือแม้แต่งานแอนิเมชั่น ซึ่งช่วงต้นปี งานก็เข้ามาเรื่อย ๆ มีงานให้ทำตลอด แต่พอมีโควิดทุก ๆ อย่างก็หายวับไปพร้อมกับรายได้ อาร์ตเล่าถึงเส้นทางสู่ยุทธจักรฟรีแลนซ์ จนมาถึงช่วงที่ ชีวิตต้องหยุดนิ่งเพราะโควิด ให้เราฟัง

แล้วช่วงที่ทุกอย่างหยุดนิ่ง ชีวิตเป็นอย่างไร? เป็นคำถามที่เราถาม ซึ่งอาร์ตบอกว่า ระหว่างที่คิดว่าจะเอายังไงดี เพราะงานถูกยกเลิกหมดแล้ว ก็มีพี่ที่รู้จักมีสวนทุเรียน จึงคิดขึ้นว่า ไปรับทุเรียนมาขายออนไลน์น่าจะดีกว่าอยู่เฉย ๆ เขาจึงรับออร์เดอร์ทุเรียน และจัดส่งให้ถึงประตูหน้าบ้านของลูกค้า นอกจากนั้นก็ยังพลิกงานอดิเรกอย่างการปลูกต้นกระบองเพชร หรือแคคตัสที่เขาชื่นชอบมาทำเป็นอาชีพเสริม ด้วยการเพาะต้นแคคตัสขายอีกด้วย อย่างทุเรียนนี่ ขายดีมาก เชื่อไหม ผมเคยขายได้มากถึงวันละ 100 กิโลกรัมก็มี นอกจากนี้ก็ยังหาเวลามาทำคุกกี้ธัญพืชขาย ซึ่งเรื่องรายได้ ผมว่าก็โอเคนะ ก็พออยู่ได้ แต่จะว่าไป ผมก็ไม่ได้คิดถึงเรื่องรายได้อะไรจากเรื่องนี้มากนัก ที่ทำเพราะไม่อยากอยู่เฉย ๆ มากกว่า อย่างน้อยก็ได้เงินมาหมุนเวียนต่อเดือน ระหว่างที่ต้องติดล็อกเพราะโควิด อาร์ตบอกเราเรื่องนี้

พร้อมกับเล่าให้ฟังอีกว่า หลังรัฐบาลเริ่มคลายล็อกมากขึ้น ตอนนี้สถานการณ์ก็ค่อย ๆ ดีขึ้นเป็นระยะ  โดยขณะนี้มีลูกค้าติดต่อมาเพื่อพูดคุยเรื่องงานบ้างแล้วประมาณ 2-3 ราย ซึ่งส่วนตัวคิดว่า สถานการณ์น่าจะค่อย ๆ คลี่คลายมากขึ้น 

ส่วน ข้อคิด ที่ได้จาก วิกฤติชีวิต ครั้งนี้ เขาบอกว่าโควิดทำให้มองเห็นชีวิตชัดขึ้น จนทำให้คิดว่า ทัศนคติ-การปรับตัว คือคีย์เวิร์ดที่จะพาให้ผ่านพ้นวิกฤติ ซึ่งคนที่ปรับตัวได้ไวที่สุด คือคนที่จะรอดไปได้ ผมว่าแค่ 2 คำนี้แหละ ทัศนคติกับการปรับตัว หากทำได้  ก็รอดได้ ไม่เฉพาะแค่โควิด แต่ทุก ๆ วิกฤติเลยครับ โปรดิวเซอร์หนุ่มย้ำเรื่องนี้

ขณะที่ เอก-อติเทพ ณัฐวัฒนะ วัย 42 ปี อาชีพช่างภาพ ฟรีแลนซ์ ก็บอกกับเราว่า สถานการณ์หลังปลดล็อก ตอนนี้ก็เริ่มดีขึ้นเรื่อย ๆ โดยเริ่มมีงานติดต่อเข้ามาบ้างแล้ว หลังต้องติดล็อกเพราะ โควิดมาตั้งแต่เดือน ก.พ. โดยเขาเล่าว่า ตอนนี้ก็เริ่มถูกจ้างให้ไปถ่ายภาพตามอีเวนต์ต่าง ๆ บ้างแล้วครับ เพราะงานที่สะดุดไปตั้งแต่ช่วงโควิด ตอนนี้ก็เริ่มมีการทยอยออกมาบ้างแล้ว แต่เป็นช่างภาพยุคโควิดแบบนี้ ก็จะแปลก ๆ ไปจากการทำงานแบบเดิมสักนิด เพราะต้องมีอุปกรณ์เพิ่มเติมเพิ่มขึ้นจากกล้องและอุปกรณ์ถ่ายภาพ นั่นคือ ต้องมีหน้ากากอนามัย เฟซชิลด์ และเจลล้างมือพกติดตัวเอาไว้ตลอดเวลาครับ เอกฉายภาพการทำงานที่เปลี่ยนไปในยุคโควิด

อนึ่ง เส้นทางสู่ อาชีพฟรีแลนซ์ ของหนุ่มช่างภาพคนนี้ เขาได้เล่าว่า ได้เริ่มต้นอาชีพช่างภาพให้กับนิตยสารผู้หญิงเล่มหนึ่ง โดยทำงานเป็นช่างภาพประจำมานานถึง 13 ปี ก่อนที่จะลาออกมาเป็นช่างภาพรับจ้างอิสระ แต่ด้วยความที่ยังใหม่ในวงการ “ช่างภาพฟรีแลนซ์” ทำให้ช่วงปีแรก ๆ งานส่วนใหญ่ก็จะเป็นงานพิธีการทั่วไป โดยเขาคิดค่าจ้างถ่ายภาพต่อครั้งอยู่ที่ 2,000-2,500 บาท
เพื่อให้พอมีรายได้เลี้ยงตัวเองได้ก่อน ต่อมาพอเริ่มมีคนเห็นผลงานมากขึ้น ก็เริ่มมีงานใหญ่ ๆ เข้ามา โดยเฉพาะการถ่ายภาพตามงานอีเวนต์ งานคอนเสิร์ตต่าง ๆ จนเขามีชื่ออยู่ในทำเนียบช่างภาพ
อีเวนต์ฝีมือดี

เอาจริง ๆ ก็มีลางบอกเหตุมาตั้งแต่ ม..แล้ว คืองานค่อย ๆ ลดลงเรื่อย ๆ จากรายได้ที่เคยมีหลักหมื่น ก็ค่อย ๆ ลงมาจนเหลือหลักพัน และพอเข้าสู่ช่วงที่ในไทยระบาดหนัก รายได้ทั้งหมดก็จึงมีตัวเลขเป็นศูนย์ทันที เอกเล่าถึงสถานการณ์ชีวิตของเขาในช่วงที่โควิดระบาด พร้อมกับบอกว่า แต่ด้วยความโชคดี ที่ก่อนจะมีวิกฤติโควิดหนัก ๆ จนงานทุกอย่างถูกยกเลิกหมด
เขากำลังมองหาอาชีพเสริมให้ตัวเองเพื่อหารายได้เพิ่ม เนื่อง
จากได้วางแผนไว้ในปีนี้ว่า เขาอยากจะมีเงินเก็บ ซึ่งเขาก็มองไปที่อาชีพทำอาหาร ระหว่างขายซูชิ กับทำบะหมี่หมูแดง ก็มาสรุป
อย่างหลัง

ก็ขายบะหมี่หมูแดงช่วงนั้นพอดี ก็พอดีกับที่มีโควิด ก็พอจะทำให้มีรายได้เข้ามาใช้จ่ายเป็นค่ากับข้าว ค่าใช้จ่ายจิปาถะในบ้านได้บ้าง เพราะช่วงนั้นไม่มีรายได้จากงานหลักเข้ามาเลย ถามว่าเครียดไหม ที่ไม่มีงาน ก็เครียดนะ แต่คงน้อยกว่าอีก หลาย ๆ คน เพราะโชคดีที่คิดเรื่องอาชีพเสริมไว้ก่อนแล้ว อีกอย่างทุกคนก็โดนเหมือนกัน เครียดไปก็ไร้ประโยชน์ เอาสมองมาคิดดีกว่าว่าจะทำยังไงต่อไปดี เอกกล่าว

พร้อมกับย้ำถึง บทเรียน ที่เขาได้เรียนรู้จาก วิกฤติชีวิต หนนี้ว่า จากปกติที่เป็นคนไม่ชอบวางแผนชีวิต ไม่ค่อยคิดวางแพลนอนาคตไว้ยาว ๆ แต่พอเกิดโควิด ทำให้เขาตัดสินใจได้เลยว่า ชีวิตต่อจากนี้ต่อไปของเขาจะต้องมี แผนสอง-แผนสำรอง
ให้กับชีวิตไว้เสมอ อย่างน้อยก็เพื่อให้ชีวิตมีทางเดิน ได้มีทางเลือกบ้างครับ เพราะก็ไม่มีใครตอบได้ว่า... เชื้อโรควายร้ายตัวนี้ หรือกรณีแบบนี้ จะไม่มีทางเกิดขึ้นได้อีก ช่างภาพฟรีแลนซ์หนุ่มย้ำเรื่องนี้

นี่เป็น ภาพชีวิต ส่วนหนึ่งของกลุ่มคนที่ได้ชื่อว่า อาชีพฟรีแลนซ์ ที่แม้ต่างคนจะต่างที่มา มีเส้นทางเดินในชีวิตที่แตกต่างกัน แต่กับวิกฤติที่เกิดขึ้นหนนี้ ทุกคนต่างก็ได้สิ่งที่คล้าย ๆ กัน คือนอกจากจะเป็นการฝึกจิตใจให้เข้มแข็ง อดทนกับอุปสรรคที่ไม่คาดคิดที่ผ่านเข้ามาในชีวิตแล้ว กับ ฤทธิ์โควิด ยังทำให้ทุกคนคิดถึงสิ่งหนึ่งมากขึ้น สิ่งนั้นคือ...

แผนสำรองสำหรับชีวิต”.

....................................
ศิริโรจน์ ศิริแพทย์ : รายงาน

Let's block ads! (Why?)



"มาเลย" - Google News
June 27, 2020 at 08:30PM
https://ift.tt/2Vr6rQi

'วิถีฟรีแลนซ์ช่วงติดล็อก!!' ต้องยึดคาถา 'ปรับตัว-ทำาใจให้สู้!!' - เดลีนีวส์
"มาเลย" - Google News
https://ift.tt/3eDupyG
Home To Blog

No comments:

Post a Comment